ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในอาคารสูง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (..2535) ฉบับที่ 47 (..2540) ฉบับที่ 48 (..2540) และฉบับที่ 50 (..2540) ออกตามความใน

   พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ..2522

คำนิยาม  อาคารสูง

           อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้โดยมีความสูงตั้งแต่ 23.00 เมตร ขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้าง ถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสด (ฉบับที่ 48 ข้อ 2)

 องค์ประกอบด้านความปลอดภัยที่ต้องมี ( ตามกฎหมาย)

(สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหลังปี 2535)

ที่ตั้งของอาคาร

มีพื้นที่รวมกันไม่เกิน

30,000 ตารางเมตร

  ต้องมีด้านหนึ่งของที่ดินไม่น้อย

  กว่า 12 เมตร

  - ติดถนนสาธรณะขนาดความกว้าง > 10 เมตร ยาว

    ต่อเนื่องกันโดยตลอดไปเชื่อมกับถนนกว้าง > 10

พื้นที่รวมกันเดิน 30,000

ตารางเมตร

 ต้องมีด้านหนึ่งของที่ดินไม่น้อย

 กว่า 12 เมตร

   - ติดถนนสาธารณะที่มีความกว้าง > 18 เมตรยาว

    ต่อเนื่องกันโดยตลอดไปเชื่อมกับถนนความกว้าง 

    18 เมตร

*พื้นที่ด้านที่ติดถนนสาธารณะต้องว่างเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกของรถดับเพลิงได้สะดวก *(ฉบับที่ 50 ข้อ 5)

บริเวณโดยรอบ

           อาคารสูงต้องจัดให้มีถนนที่มีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ที่ปราศจากสิ่งปกคลุม โดยรอบอาคาร เพื่อให้รถดับเพลิงเข้าออกได้สะดวก (ฉบับที่ 50 ข้อ 6)

การระบายอากาศ

·        ท่อลมส่วนที่ติดตั้งผ่านผนังกันไฟหรือพื้นที่ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟต้องติดตั้งลิ้นกันไฟอัตโนมัต ( Automatic fire damper )

        ทำงานที่อุณหภูมิ 74 องศาและมีอัตราทนไฟ 1 1/2 ชม.

·        ห้ามใช้ทางเดินร่วม บันใดช่องบันใด ช่องลิฟต์ ของอาคารเป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อลมส่งหรือระบบท่อลมกลับ

ระบบปรรับอากาศ

·        ต้องมีสวิทซ์พัดลมของระบบการขับเคลื่อนอากาศที่ปิด-เปิด ด้วยมือ ติดตั้งในที่เหมาะสม และสามารถปิดสวิทซ์ได้ทันที

       เมื่อเกิดเพลิงไหม้

·        ระบบที่มีลมหมุนเวียนตั้งแต่ 50 ลูกบาศ์กเมตร / นาที ต้องติดตั้งอุปกรณ์จับควันไฟซึ่งจะหยุดการทำงานของระบบโดย

        อัตโนมัติ (ฉบับที่ 33 ข้อ 10 (1)(5))

ระบบไฟฟ้าสำรอง

·        ต้องมีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินแยกเป็นอิสระจากระบบอื่น และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ

      เมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน

·        จ่ายไฟเป็นเวลาไม่น้อยกว่ สองชั่วโมงสำหรับเครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉินทางเดิน ห้องโถง บันได และระบบเตือนเพลิง

        ไหม้

·        จ่ายพลังงานไฟฟ้าตลอดเลาสำหรับลิฟต์ดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงระบบสื่อสาร ห้องช่วยชีวิตฉุกเฉิน

·        ระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้ลิฟต์ดับเพลิง ต้องต่อจากวงจรจ่ายไฟซึ่งแยกเป็นอิสระจากวงจรทั่วไป และมีการป้องกันอันตรายจาก

       เพลิงไหม้อย่างดีพอ (ฉบับที่ 33 ข้อ (14) )

สัญญาณเตือนเพลิงไหม้

·        ต้องมีสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น โดยต้องมี

-อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่ส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ได้ทราบอย่างทั่วถึง ( Alarm Bell )

- อุปกรณ์แจ้งเหตุทั้งระบบอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือง ( ฉบับที่ 33 ข้อ 16 )

แบบแปลนไฟฟ้า

·        ต้องมีแผนผังวงจรไฟฟ้าของแต่ละชั้นของอาคารพร้อมรายละเอียดของการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของระบบต่อ

       ไปนี้

    -ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและกำลัง

    -ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้

    -ระบบไฟฟ้าฉุกเเฉิน

 

·        ต้องมีแผนผังวงจรแสดงรายละเอียดของระบบสายดิน

·        ต้องมีแผงผังวงจรการติดตั้งหม้อแปลง แผงควบคุมและจ่ายกระแสไฟและระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง (ฉบับที่ 33

       ข้อ 17) ระบบป้องกันเพลิงไหม้

·        ต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ ซึ่งประกอบด้วย ท่อยืน ที่เก็บน้ำสำรองและหัวรับน้ำดับเพลิง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

·        ท่อยืนต้องเป็นท่อโลหะทีทนแรงดันได้ 1.2 เมกกะปาสคาล [12 bar] ทาสีแดง ติดตั้งแต่ชั้นล่างสุดไปยังชั้นสูงสุดของอาคาร

       และจากหัวรับน้ำดับเพลิงของอาคาร (ฉบับที่ 33 ข้อ 18 (1) )

·        ทุกชั้นของอาคารต้องมีตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง ซึ่งมี สายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนยกลาง 1 นิ้ว และ วาล์วพร้อมหัวต่อขนาดเส้นผ่าน

         ศูนย์กลาง 2 1/2 นิ้ว พร้อมฝาครอบและโซ่ รอบทุกระยะห่างไม่เกิน 64 เมตร และใช้สายขนาดยาว 36 เมตร ต่อจากตู้แล้ว       

       ไปถึงได้ทุกพื้นที่ (ฉบับที่ 33 ข้อ 18 (2) )

·        ต้องมีเก็บน้ำสำรองเฉพาะเพื่อการดับเพลิง

·          ส่งแรงดันน้ำที่ชั้นสูงสุดไม่น้อยกว่า 0.45 เมกะปาสคาล (4.5 bar ) แต่ไม่เกิน 0.7 เมกะปาสคาล (7 bar ) ด้วย อัตราไหล 30 ลิตรต่อวินาที (475 แกลลอน ต่อนาที)

·          ต้องมีหัวรับน้ำดับเพลิงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ฝ นิ้ว ที่รับน้ำจากรถดับเพลิงได้ และมีป้ายบอก "หัวรับน้ำดับเพลิง" (ฉบับบที่ 33 ข้อ 18 (3)(4) )

·          ปริมาณน้ำสำรองต้องมีอย่างน้อย 30 นาที ที่ปริมาณการจ่าย 475 แกลลอนต่อนาที ที่ท่อยืนท่อแรก และไม่น้อยกว่า 240 แกลลอน/นาที สำหรับแต่ละท่อยืนที่เพิ่มขึ้น

·          ต้องมีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ตามชนิดและขนาดที่เหมาะสมสำหรับดับเพลิงที่เกิดขึ้นในแต่ละชั้น โดย 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร (ฉบับที่ 33 ข้อ 18 (5) 9 )

·          ต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น sprinkler system หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า ที่ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด

·        ต้องมีแบบแปลนท่อน้ำประปาในแต่ละชั้นโดยแสดงระบบต่อไปนี้

-ระบบสุขภัณฑ์

-ระบบท่อดับเพลิง และที่เก็บน้ำสำรอง

-ระบบท่อระบายน้ำฝน ท่อน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสีย

        -ระบบการเก็บและจ่ายน้ำจากที่เก็บน้ำสำรอง ( ฉบับที่ 33 ข้อ 20,21 )

 

บันไดหนีไไฟ

·        ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 บันได แต่ละบันไดอยู่ห่างกันไม่เกิน 60 เมตร และสามารถลำเลียงบุคคลออกได้ภายใน 1 ชั่วโมง

·        ทำด้วยวัสดุทนไฟและไม่ผุกร่อน ห้ามเป็นแบบบันไดเวียน

·        หากบันไดหนีไฟอยู่นอกอาคารต้องมีผนังกันไฟกั้นระหว่างอาคารและบันไดหนีไฟ (ฉบับที่ 33 ข้อ 22,23,24)

·        หากอยู่ในอาคารต้องมีช่องระบายอากาศที่มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร ต่อชั้น หรือมีระบบลมอัด (Pressurized fan) ที่มีความดันลมไม่น้อยกว่า 3.86 Pa ที่ทำงานอัตโนมัติ และออกสู่ภายนอกได้สะดวก

·        หากอยู่ภายในอาคาร ต้องมีผนังกันไฟโดยรอบ และมีแสงสว่างจากระบบไฟฉุกเฉิน มีป้ายบอกชั้น และป้ายบอกทางหนีไฟทั้งภายในและภายนอก โดยตัวอักษรมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 ซม (ฉบับที่ 50 ข้อ (12) ,ฉบับที่ 33 ข้อ 26 )

·        ประตูหนีไฟต้องเป็นวัสดุทนไฟ แบบผลักออกสู่ภายนอก พร้อมอุปกรณ์บังคับประตูปิดเอง (Re-closer) มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร

·        ต้องจัดให้มีทางสำหรับบุคคลภายนอกเข้าดับเพลิงในทุกชั้น อาจเป็นช่องบันไดหรือลิฟต์ดับเพลิงก็ได้ และมีที่ว่างอย่างน้อย 6 ตารางเมตร ซึ่งปลอดควันและเปลงวไฟ และเป็นที่ตั้งของฉีดน้ำดับเพลิงประจำช้น (ฉบับที่ 33 ข้อ 27,28)

ดาดฟ้า

·        ต้องมีดาดฟ้าและที่ว่างโล่งบนดาดฟ้ายาวและกว้างด้านละไม่น้อยกว่า 10 เมตร เพื่อใช้หนีไฟทางอากาศ และต้องให้มีทางหนีไฟบนชั้นดาดฟ้าสุ่บันไดหนีไฟได้

ระบบบำบัดน้ำเสีย

·        ต้องมีระบบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งออกสู่แหล่งรองน้ำทิ้ง ดดยต้องได้รับควบคุมให้เป็นไปตามคุณภาพน้ำทิ้งของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และต้องไม่เกิดให้เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเกิดภัยอันตราย หรือเดือดร้อน รำคาญ แก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (ฉบับที่ 50 ข้อ 13 ฉบับที่ 33 ข้อ 30 -35)

ระบบกำจัดขยะมูลฝอย

·        ต้องมีพักรวมของขยะฝอยที่มีความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาตรที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยผนังทำจากวัสดุทนไฟ

·        หากขนย้ายขยะโดยปล่องทิ้งมูลฝอย ปล่องต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและมีประตูหรือช่องทิ้งมูลฝอยทำด้วยวัสดุทนไฟและปิดได้สนิท ฉบับที่ 33 ข้อ 40,42)

ระบบลิฟต์

·        ต้องมีลิฟต์ โดยสารและลิฟต์ดับเพลิงทีทมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม

·        ในปล่องลิฟต์ห้ามติดตั้งท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และอุปกรณ์ต่างๆ

·        ลิฟต์ต้องมีระบบและอุปกรณ์การทำงานที่ปลอดภัย

·        ต้องมีการทำงานที่จะให้ลิฟต์เลื่อนมาหยุดที่ชั้นพื้นดิน และประตูต้องเปิดออก เมื่อไฟฟ้าดับ (ฉบับที่ 33 ข้อ 43,45,46)

ลิฟต์ดับเพลิง

·        ต้องมีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่ง

-                    จอดได้ทุกชั้นและมีระบควบคุมพิเศษเพื่อใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้

-                    บริเวณหน้าโถงลิฟต์ต้องมีตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆ

-                    หน้าโถงลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนังหรือประตูทนไฟที่กันเปลวไฟและควันไฟได้ และมีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกได้

โดยตรง หรือมีระบบลมอัดที่มีแรงดันลม 3.86 ปาสคาลที่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเพลิงไหม้

·        เคลื่อนที่ด้วยความเร็วจากชั้นล่างสุดถึงชั้นบนสุดใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที (ฉบับที่ 33 ข้อ 44 ฉบับที่ 50 ข้อ 14)

อาคารขนาดเล็ก

·        ต้องมีเครื่องดับเพลิงมือถือ ชั้นละ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่ไม่เกิน 1000 ตารางเมตร

·        สำหรับอาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมเกิน 2000 ตารางเมตร ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทีมีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ และรบบแจ้งเหตุด้วยมือ และมีระบบสัญญาณเตือนให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินเพื่อหนีไฟ

·        ในอาคารที่มีพื้นที่มากกว่า 2000 ตาราเมตร ต้องมีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกทางหนีไฟหรือสัญญลักษณ์ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 .. และต้องมีไฟส่องสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินด้วย (ฉบับที่ 39 ข้อ 5,6)

อาคารที่ก่อสร้างก่อนพระราชบัญญติ พ..2522

·        อาคารที่มีสภาพหรือการใช้งานอาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิตและทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสังให้เจ้าของหรือผุ้ครอบครองแก้ไขให้เป็นไปตามกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้

·        อาคารที่มีความสูงสี่ชั้นขึ้นไปให้ต้องติดตั้งบันไดหนีไฟเพิ่มจากบันไดหลัก

·        ติดตั้งแบบแปลนของอาคารแต่ละชั้นในตำแหน่งที่ชัดเจนที่หน้าห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกชั้น (ฉบับที่ 47 ชั้น 3,4,5)

·        ติดตั้งถังดับเพลิงในแต่ละชั้น

·        ติดตั้งไฟส่องสว่างสำรอง ป้ายบอกชั้น และป้ายบอกทางหนีไฟที่ด้านในและนอกประตูหนีไฟ

·        ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ประกอบด้วย เสาล่อฟ้า สายล่อฟ้า สายตัวนำ สายนำลงดิน และหลักสายดิน

·        หากพนักงานเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารใช้อาคารทั้งหมดหรือบางส่วนได้ (ฉบับที่ 47 ข้อ 5 (3,4,5,6,7) )

กระจกของอาคารสูง

·        กระจกที่ใช้ทำผนักภายนอกอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ที่มี 2 ชั้นขึ้นไปต้องเป็ฯกระจกตั้งแต่ 2 ชั้นขั้นไป ประกอบกันโดยมีวัสดุคั่นกลาง (Safety glass) มีคุณสมบัติในการป้องกันหรือลดอันตรายจากการบาดของเศษกระจกแตก และวัสดุสคั่นกลางต้องยึดเสษหรือชิ้นกระจกไม่ให้หลุดออกเมื่อกระจกแตกร้าวหรือราน (ฉบับที่ 48 ข้อ 28)

สำหรับอาคารที่สร้างหลังปี 40

·        อาคารสูงต้องมีผนังหรือประตูที่ทนไฟป้องกันบริเวณบันไดที่มิใช่บันไดหนีไฟ โดยประตูและผนังกันไฟต้องมีอัตราทนไฟอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

·        อาคารสูงที่มีโถงภายในอาคารเป็นช่องเปิดทะลุพื้นของอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปและไม่มีผนังปิดล้อม (Atrium) ต้องให้มีระบบควบคุมการแพร่กระจายของควันที่ทำงานอัตโนมัติ เพื่อระบายควันออกจากอาคารได้อย่างรวดเร็ว (ฉบับที่ 50 ข้อ 8,11)

ปัญหาที่มักจะพบของการบริหารอาคารชุดด้านความปลอดภัย

·        ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการจัดวางของในห้องเครื่องห้องไฟฟ้า ห้องทำงาน และห้องที่ห่างไกลจากผู้คน

·        อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่พร้อมใช้งาน

-                    อุปกรณ์เตือนเพลิงไหม้อัตโนมัติไม่ทำงาน

-                    เครื่องดับเพลิงหมดแรงดัน/ไม่มีน้ำยา

-       ประตูหนีไฟเปิดค้าง / ปิดไม่ได้ / มีของวางบัง แต่ทางออกจากอาคารปิดล็อค

·        ไม่มีตารางตรวจและบำรุงรักษาอุปกรณ์

-                    โดยช่างหรือพนักงานผู้รับผิดชอบ

-                    โดยผู้บริหารอาคาร

-       โดยเจ้าหน้าที่ราชการ / ผู้รับอนุญาต

·        ไม่มีแผนปฎิบัติในกรณีฉุกเฉิน

·        ขาดการซ้อมตามแผนฉุกเฉิน

·        ระบบรักษาความปลอดภัยไม่ครอบคลุมพื้นที่ หรือขาดการควบคุมการปฎิบัติงานที่ดี

·        ขาดความรู้ และทักษะในการดำเนินการและจัดการปฎิบัติงานด้วยความปลอดภัย

- มีการเจาะรูระหว่างบริเวณกันไฟ

- ช่อง Shaft ไฟฟ้ามิได้ป้องกันด้วยวัสดุกันไฟลาม

- มีการเก็บของเหลวไวไฟในบริเวณอันตราย

 

- พนักงานไม่มีความสามารถในการตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉินเช่น ใน กรณี LPG รั่วไหล 

Visitors: 81,063